Saturday, 07 December 2013 17:37

โครงการ “ปลูกต้นกล้าอาสาสมัคร รักษ์ทะเลสยาม”

เกี่ยวกับโครงการ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หรือ (อพ.สธ.) ร่วมกับ มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม และพันธมิตรอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัญและเอกชนเพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกจิตสำนึกสร้างแรงบัลดาลใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนให้รู้จักทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตัวเอง ร่วมเรียนรู้ว่าธรรมชาติมีความสัมพันธ์และผูกพันกันอย่างไร ส่งเสริมแนวคิด “การช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ คือ การรักชาติ รักแผ่นดิน”

 

 

ดาวน์โหลดคู่มือโครงการ (PDF 53 MB)

 

โครงการกัปตันบางสะพานคืออะไร?

โครงการกัปตันบางสะพาน เป็นโครงการที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พัฒนากระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ความรู้ของโครงการอนุรักษ์ในพื้นเป็นฐานในการศึกษาผ่าน ”กระบวนการค่าย” ที่มีตัวแทนจากหน่วยงานที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ผ่านกิจกรรมการหาคำตอบด้วยกระบวนการแก้ปัญหา กิจกรรมเชิงสาธิต และกิจกรรมเชิงทดลอง ส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาศักยภาพของตัวเองรู้จักสังเกต รวมกลุ่มกันวิเคราะห์ปัญหา อย่างไม่มีอัคติฝึกความเป็นกลางและการมีจิตสาธารณะควบคุมความคิดที่จะนำมาใช้กับ “การศึกษาโดยโครงงาน” ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกันตามขั้นตอนการเรียนรู้ได้แก่ เลือกหัวข้อและเหตุผลที่จะศึกษา กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษา กำหนดวิธีการศึกษาหรือแผนงานที่จะนำไปสู่ “การลงมืออนุรักษ์” พื้นที่โครงการด้วยวิธีต่างๆ นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บอย่างถูกต้องมาวิเคราะห์ สรุป อภิปรายผลและนำมาจัดทำ “การนำเสนออย่างมืออาชีพ” เพื่อสะท้อนให้หน่วยงานหรือองค์กรที่ดำเนินโครงการอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นๆ นำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการต่อไป พร้อมทั้งจัดเวทีให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงผลงานผ่านทางสื่อวัสดุของท้องถิ่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อดิจิตอล เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตระหนักเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ และเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีทักษะการแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศชาติ

 

 

4 ขั้นตอนการเรียนรู้

 

 

ระยะเวลาโครงการ

8 ธันวาคม 2556 : แถลงข่าวเปิดโครงการ
1 กุมภาพันธ์ 2557 – 31 มีนาคม 2557 : รับสมัครเข่าร่วมโครงการ (เขียนแรงบันดาลใจที่จะเข้าร่วมโครงการ/เหตุผลที่จะได้รับการคัดเลือก ในแต่ละกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม ผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ)
11 เมษายน 2557 : ประกาศรายชื่อเยาวชนที่ได้เข้าร่วมโครงการในระยะที่ 1
23 พฤษภาคม 2557 – 25 พฤษภาคม 2557 : ค่าย “ปลูกต้นกล้าอาสาสมัคร รักษ์ทะเลสยาม” ครั้งที่ 1
30 พฤษภาคม 2557 – 1 มิถุนายน 2557 : ค่าย “ปลูกต้นกล้าอาสาสมัคร รักษ์ทะเลสยาม” ครั้งที่ 2
7 มิถุนายน 2557 – 9 มิถุนายน 2557 : ค่าย “ปลูกต้นกล้าอาสาสมัคร รักษ์ทะเลสยาม” ครั้งที่ 3
18 กรกฎาคม 2557 : ส่งโครงงานระยะที่ 1
31 กรกฎาคม 2557: ประกาศรายชื่อกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าสู่โครงการในระยะที่ 2 ในแต่ละกิจกรรม ทั้ง 5 โครงงาน
12 สิงหาคม 2557 – 14 สิงหาคม 2557 : กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่องลงมือปฏิบัติ ครั้งที่ 4 Work Shop
15 ตุลาคม 2557 – 30 ตุลาคม 2557: ลงพื้นที่ทำการศึกษาผ่านการปฏิบัติจริง
31 ตุลาคม 2557 – 15 พฤศจิกายน 2557 : ส่งโครงงานระยะที่ 2 + การนำเสนอ
5 ธันวาคม 2557 : แสดงผลงาน ประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงงาน มอบใบประเกียรติคุณและของรางวัล
 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  • โครงการประสานงานกับโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการทำความเข้าใจ ความเชื่อมโยงกับหลักสูตร เลือกช่วงเวลาจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและทำการกำหนดตารางกิจกรรมโครงการ
  • ประสานตัวแทนนักเรียนและครูจากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรมวันเปิดโครงการเพื่อถ่ายทอดแนวคิดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและกระบวนการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการได้อย่างทั่วถึง(กิจกรรมเพื่อส่งเสริม เยาวชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมกับโครงการ) ซึ่งกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เข้าร่วมโครงการ ดังนี้

    1. กิจกรรมพัฒนาประมงท้องถิ่น
    2. กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการัง
    3. กิจกรรมการอนุรักษ์เต่าทะเล
    4. กิจกรรมเรียนรู้..ดูแลชายฝั่ง
    5. กิจกรรมพืชพรรณและป่า
  • ผู้สนใจทำการสมัครผ่านระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ www.siammarine.or.th โดยแบ่งการสมัครออก เป็น 2 ประเภทคือ

    1. เยาวชนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
    2. จิตอาสา

    โดยการเขียนถึงความสนใจที่อยากเข้าร่วมกิจกรรมตามหัวข้อที่2
  • โครงการจะคัดเลือกตัวแทนจากเรียงความและความคิดเห็นที่โดนใจโค้ชของแต่ละทีมและจะประกาศผลการคัด เลือกตัวแทนผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการและประสานงานผ่านโรงเรียนที่ร่วมโครงการ
  • ผู้ได้รับการคัดเลือกแสดงความจำนงใน การเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดการที่กำหนดโดยสงวนสิทธิให้ผู้ที่ยื่น ความจำนงก่อน เลือกวันก่อน หากมีการสละสิทธิผู้ที่ที่ยื่นความจำนงถัดไปจะได้ตามลำดับ
  • เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ตามแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนการเรียนรู้ที่ 1 โดยมีจิตอาสาสังเกตการและร่วมทำกิจกรรม (บางกิจกรรม)
  • หลังจากจบกระบวนการค่ายให้จับกลุ่มกันตามความเหมาะสม กลุ่มละ 4-5 คน ซึ่งจะให้เลือกพี่เลี้ยงกลุ่มๆละ 1 -2คนเพื่อให้คำแนะนำในการเขียนโครงงาน ร่วมกันสำรวจประเด็นที่กลุ่มสนใจโดยปรึกษากับโค้ชและทีมวิทยากรกระบวนการเพื่อเลือกหัวข้อซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแต่ละทีมกิจกรรม เพื่อเป็นหัวข้อในการศึกษาโดยโครงงาน ในขั้นตอนที่ 2 ต่อไป แต่ละกลุ่มต้องส่งรายงานความก้าวหน้าระยะที่ 1 (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) มายังมูลนิธิฯ (ตามวันและเวลาส่งโครงงาน ตามที่กำหนด )
  • โค๊ชหัวหน้าทีมกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ส่งผลการประเมินโรงงานและประกาศผลการคัดเลือกโครงงานที่มีความ ถูกต้อง เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากที่สุดผ่านทางเว็บไซต์ของโครงการและประสานงานผ่าน โรงเรียนที่ร่วมโครงการ
  • กลุ่มเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม Work Shop เพื่อเตรียมความพร้อม ปรับและวางแผนการ ดำเนินภาระกิจตามขั้นตอนต่อไป ตัวแทนจิตอาสาที่ได้รับการคัดเลือกร่วมแชร์ประสบการณ์และช่วยพัฒนา แนวทางในการดำเนินโครงงานในภาคปฏิบัติ โดยแต่ละกลุ่มส่งรายงานความก้าวหน้า ตามที่โค้ชและคณาจารย์ ที่ปรึกษาแต่ละทีมกำหนด ระยะที่ 2 ฉบับที่ 1 (มายังมูลนิธิฯตามวันและเวลาที่กำหนด)
  • กลุ่มเยาวชนลงพื้นที่และปฏิบัติภารกิจตามแผนการดำเนินโครงงานเป็นระยะเวลา 15 วัน ในขั้นตอนที่ 3 ตัวแทน ตัวแทนจิอาสาช่วยเก็บข้อมูลและประชาสัมพันธ์โครงการในกิจกรรมของภารกิจต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์ด้วย เช่น เขียนเรื่องราว แชร์วีดีโอ ภาพถ่ายต่างๆ ผ่าน Blog ที่ทางโครงการจัดเตรียมไว้และคะแนนโหวดผ่านทางระบบของโครงการจะนำมาร่วมเป็นคะแนนในการพิจารณาด้วย
  • รับการประเมินผลการดำเนินงานเบื้องต้นจากการลงพื้นที่ของคณะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการในสาขาต่างๆ
  • กลุ่มเยาวชนส่งรายการสรุปผลการดำเนินโครงงานระยะที่ 2 ฉบับที่ 2 และจัดทำรูปแบบในการนำเสนอ โครงงานตามขั้นตอนที่ 4 หลังจากวันเริ่มลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจ 1 เดือน โดยจิตอาสาร่วมให้ความช่วยเหลือ ในการวางแผนการผลิตสื่อ การนำเสนอโครงการในรูปแบบต่างๆ ส่งให้มูลนิธิฯโดยโค๊ชและคณาจารย์ที่ปรึกษา โครงการร่วมพิจารณา
  • ร่วมกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติและนำเสนอผลการดำเนินโครงงานโดยรูปแบบต่างๆที่ได้ทุ่มเทพลังกาย พลังใจ สติปัญญาและเวลาในการทำกิจกรรมจนกระทั้งสำเร็จลุล่วงตาม 4 ขั้นตอนแก่หน่วยงานต้นสังกัดของโค้ชแต่และ กิจกรรม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอ่าวบางสะพาน อาทิเช่น สำนักงาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานท่องเที่ยวและนันทนาการจังหวัด การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย สำนักงานจังหวัดประจวบฯ ประมงจังหวัด ป่าไม้จังหวัด หัวหน้าอุทยานทั้ง 3 อุทยานในเขต จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัฒนธรรมจังหวัด ศึกษาจังหวัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วน ตำบลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • ประกาศผลการตัดสินโครงการ มอบรางวัลและเกียรติบัตรให้กับจิตอาสาที่ร่วมโครงการและกลุ่มเยาวชนตามลำดับ